รูปภาพจาก : http://www.novabizz.com/Map/img/map-25-Mukdahan.gif
จังหวัดมุกดาหาร
วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557
แก่งกะเบา
ชื่อแหล่งท่องเที่ยว : | แก่งกะเบา |
ประเภทสถานที่ท่องเที่ยว : | ธรรมชาติและสัตว์ป่า |
สถานที่ตั้ง : | บ.นภแกน้อย ม.10 |
หมายเลขติดต่อสอบถาม : | |
latitude : | |
longitude : | |
รายละเอียด : | แก่งกะเบา เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามมาก และสถานที่ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมากแก่งกะเบาตั้งอยู่ในเขตบ้านนาแกน้อย ต.ป่งขาม อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร ห่างจากตัวจังหวัดมุกดาหาร 35 กม. มีอาณาเขตติดต่อ กับ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ห่างจากอ.ธาตุพนมเป็นระยะทาง 24 กม. และอยู่ตรงข้าม คือ บ้านแก่งกะเบา เมืองไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งมีลำน้ำโขงเป็นเส้นกั้นกลาง ลักษณะเด่นของแก่งกะเบา คือ มีแก่งหินและโขดหินที่ขวางกั้นแม่น้ำโขง สายน้ำโขงที่ไหลมาจะมากระทบกับแก่งหินและมีการกัดเซาะทำให้เกิดรูปร่างที่สวยงาม ในบางที่จะเป็นลักษณะเหมือนกับหลุมลึกบางที่ก็จะเป็นลักษณะเหมือนถ้ำใต้น้ำซึ่งมีความสวยงามมากในช่วงฤดูร้อน ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวมาพักผ่อนหย่อนใจมากมายทั้งมาทำกิจกรรมภายในครอบครัวหรือแม้กระทั่งมาเล่นน้ำก็ตาม ในตัวแก่งกะเบานั้นตรงที่ที่สายน้ำไหลอยู่ตลอดเวลาจะไม่มีตระไคร่น้ำติดเพราะว่าน้ำพัดอยู่ตลอดเวลาแต่ตรงที่น้ำไหลไม่แรงหรือไม่ไหลเลยนั้นควรจะระมัดระวังเพราะอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ ภายในแก่งกะเบานั้นก็จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายไม่ว่าจะเป็นที่พัก ร้านอาหาร บริเวณแก่งก็จะมีห่วงยางให้เช่าสำหรับผู้ที่ต้องการลงเล่นน้ำ ก็มีบริการเสมอ แต่ในช่วงกลางวันนั้นอาจจะอากาศร้อนนิดหน่อยเพราะว่าในแก่งนั้นจะไม่มีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาควรเอาร่มหรือหมวกกันแดดไปด้วย |
การเดินทาง : | การเดินทาง ใช้เส้นทางระหว่าง จังหวัดมุกดาหาร - อำเภอธาตุพนม (ทางหลวงหมายเลข 212) โดยออกจากจังหวัด มุกดาหารไปทางทิศเหนือ ถึงตำบลคำป่าหลาย ระยะทาง 25 กิโลเมตร แล้วลี้ยวขวา เข้าไปอำเภอหว้านใหญ่ระยะทาง 10 กิโลเมตรโดยห่างจากอำเภอหว้านใหญ่ ไปทางทิศเหนือ อีกประมาณ 8 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือ ที่บ้านสองคอน ตำบลป่งขาม อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร |
อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ
สถานที่ท่องเที่ยว : อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ
ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ เดิมชื่อ อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร ได้เปลี่ยนชื่อเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้พิจารณาชื่ออุทยานแห่งชาติให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดเด่น และศักยภาพที่สำคัญของพื้นที่ที่จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 59 ของประเทศไทยมีเนื้อที่ 48.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 30,312.5 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองมุกดาหารและอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ มีป่าเต็งรังบริเวณลานหินหรือภูเขาหิน และในฤดูฝนต่อฤดูหนาวจะเต็มไปด้วยไม้ดอกงดงามนานาชนิด ป่าเบญจพรรณบริเวณหุบเขา มีปรากฏการณ์และธรรมชาติที่สวยงาม หินมีลักษณะหรือรูปทรงแปลกๆ ถ้ำที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ น้ำตกและน้ำซับตลอดปี
ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายประกอบด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่หลายลูกติดต่อกัน แบบลูกคลื่นและเป็นส่วนปลายสุดของเทือกเขาภูพาน เทือกเขาเหล่านี้วางตัวในลักษณะแนวเหนือ-ใต้ขนานและห่างจากชายฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ 4 กิโลเมตร ภายในอุทยานฯประกอบด้วยภูหมากยาง ภูมโน ภูโปร่ง ภูรัง ภูจอมนาง ภูหมากมี่ ภูผาเทิบ ภูนางหงส์ ภูถ้ำพระ ภูหลักเสและยอดเขาสูงสุดคือ ยอดภูจอมศรี มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 170-420 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เต็งรัง และป่าเบญจพรรณ และยังเป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยหลายสาย เช่น ห้วยตาเหลือก ห้วยสิงห์ ห้วยเรือ ห้วยมะเล ห้วยช้างชน เป็นต้น แถบบริเวณเชิงเขาเป็นป่าไผ่ขึ้นสลับเป็นแนว หลายบริเวณเป็นหน้าผาสูงและลานหินกว้าง มีหินรูปร่างแปลก ๆ มากมาย ลักษณะโดยทั่วไปเป็นกลุ่มหินรูปทรงหลายแบบวางซ้อนทับกันคล้ายกับ เพิงผาที่กันแดดกันลมได้ ซึ่งภาษาท้องถิ่นเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า "เทิบ"
ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติมีสภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน - เดือนพฤศจิกายน ฤดูหนาว ระหว่างเดือนธันวาคม - เดือนมกราคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนพฤษภาคม
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังตามธรรมชาติ มีพันธุ์ไม้นานาชนิด ได้แก่ ตะแบก พยอม พะยูง ตะเคียน ประดู่ แดง มะไฟ มะค่า ชิงชัน กระบก กระบาก ส้าน จิก ติ้ว จำปีป่า ยมหอม เหียง เต็ง รัง เป็นต้น สัตว์ป่าที่พบเห็นโดยส่วนใหญ่เป็นสัตว์ขนาดเล็ก ได้แก่ หมูป่า กวางป่า เก้ง หมาจิ้งจอก ลิง กระต่าย นกยูง ไก่ป่า ไก่ฟ้า และนกนานาชนิด
สถานที่น่าสนใจ
กลุ่มหินเทิบ
การเกิดกลุ่มหินเทิบจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่มาของประติมากรรม ธรรมชาติเหล่านี้ล้วนเกิดจากการกัดเซาะของฝน น้ำ ลมและแสงแดด ผ่านกาลเวลามาถึง 120-95 ล้านปีทำให้กลุ่มหินเหล่านี้มีสภาพแตกต่างกันไปดูคล้ายรูปไอพ่น จานบิน เก๋งจีน มงกุฎ หัวจระเข้และหอยสังข์ ซึ่งความคงทนของชั้นหินที่แตกต่างกันก็เนื่องจากการประสานของเนื้อทรายแตก ต่างกัน หินทรายชั้นบนที่คงทนมีสีเนื้อหินเป็นสีน้ำตาล มีส่วนประกอบที่เป็นซิลิกาและเม็ดกรวดมาก ส่วนหินทรายชั้นต่ำลงมาที่ไม่คงทนมีสีของเนื้อหินเป็นสีขาวจะมีส่วนผสมของคาร์บอเนตมากสภาพของธรณีวิทยา บริเวณกลุ่มหินเทิบประกอบด้วยหินชั้นของหมวดหินเสาขัวและกลุ่มหินภูพานของ กลุ่มหินโคราช มีการลำดับชั้นหินอยู่ในมหายุคมีโซโซอิค ประกอบด้วย หินโคลน หินทราย หินทรายแป้ง และหินกรวดมนหนาประมาณ200 เมตร
ลานมุจลินท์
ลานมุจลินท์เป็น ลานหินเรียบทอดยาวกว้างไกลต่อจากกลุ่มหินเทิบ โดยมีป่าเต็งรังแคระล้อมรอบให้ความงดงามกลมกลืนกับธรรมชาติอีกรูปแบบหนึ่ง มีพันธุ์ไม้พุ่มจำพวกข่อยหิน นางฟ้าจำแลงอ้นเหลืองและกระโดนดาน เป็นส่วนประกอบจุดเด่นของที่นี้ที่ไม่ควรมองข้ามคือกลุ่มดอกหญ้าของสังคมพืช ขนาดเล็ก เช่นสร้อยสุวรรณา หยาดน้ำค้าง หนาวเดือนห้า ดาวรวมดวง กระดุมเงิน และดุสิตา ซึ่งจะออกดอกบานสะพรั่งในช่วงเดือน ตุลาคม-ธันวาคม ของทุกปี ณ กลางลานแห่งนี้ยังสามารถมองเห็นทัศนียภาพแม่น้ำโขงได้ด้วย
ถ้ำลอด
เป็นถ้ำเล็กๆ ที่สามารถลอดลงมาจากหน้าผา เพื่อที่จะเดินต่อไปที่ภูนางหงษ์และภูหลักเส ระหว่างทางจากถ้ำลอดขึ้นไปภูหลักเส เป็นบริเวณที่ชาวบ้านได้ขุดพบเศษถ้วยชามและของโบราณ
ผามะนาว
จากภูถ้ำพระเดินต่อไปอีกประมาณ 700 เมตร จะพบหน้าผาสูงชัน มีน้ำตกไหลลงสู่เบื้องล่าง บนหน้าผามองเห็นทิวทัศน์กลุ่มหินเทิบและแม่น้ำโขง
ผาอูฐ
จากกลุ่มหินเทิบเดินไปอีกประมาณ 500 เมตร จะพบหน้าผาที่มีหินรูปร่างคล้ายอูฐเป็นสัญลักษณ์ ที่นี่นับเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงาม เพราะมองเห็นหุบเขาเบื้องล่างได้กว้างไกล
ภูนางหงษ์
มีหินธรรมชาติเป็นรูปคล้ายหงษ์ขนาดใหญ่อยู่กลางลานหินกว้าง และมีก้อนหินขนาดใหญ่วางทับกันเป็นรูปร่างและสีต่าง ๆ กัน
ภาพถ่ายจากภูมโนรมย์
ภูมโนรมย์ เป็นภูเขาอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมืองมุกดาหาร บนยอดเขาจะมีศาลาที่พักและรอยพระพุทธบาทจำลองลึก 1 เมตร เมื่อมองจากยอดเขาจะเห็นทิวทัศน์อันสวยงามของเมืองมุกดาหาร แม่น้ำโขง และแขวงสะหวันนะเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ภูหลังเส
เป็นการเล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณว่า มีหลักทองคำตั้งอยู่บนกลางเนินเขานี้ แล้วต่อมาหายไป ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “เสาเส” (ภาษาภูไท แปลว่า เสาหาย) ต่อมาจึงเรียกเป็น ภูหลักเส มีจุดเด่นคือ ป่าแคระและเป็นสถานที่ชมทิวทัศน์
ลำห้วยและแหล่งน้ำซับ
ป่าอุทยานแห่งชาติ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยตาเหลือ ห้วยลิง ห้วยสายพาน ห้วยเรือ เป็นต้น และโดยเฉพาะบริเวณภูถ้ำพระ มีแหล่งน้ำซับซึ่งมีน้ำไหลตลอดปีและไหลมารวมกันจึงเกิดเป็นน้ำตกภูถ้ำพระ
น้ำตกวังเดือนห้า
คำว่า "วัง" ในที่นี้ภาษาอิสานใช้เรียกกับแหล่งน้ำที่มีลักษณะเป็นแอ่งน้ำขังเป็นเวิ้งวัง เป็นน้ำตกขนาดเล็กเกิดจากสายธาร ที่ไหลผ่านลานหินมุจลินท์ ภายในน้ำตกประกอบไปด้วยแอ่งหิน หุบหิน โขดหิน นักท่องเที่ยวนิยมไปชมทัศนียภาพและเล่นน้ำตกในฤดูแล้ง จะมีบ่อน้ำซับไหลหล่อเลี้ยงพืชพันธุ์และสัตว์ป่า
ปฏิมากรรมถ้าฝ่ามือแดง
ถ้ำฝ่ามือแดงเป็นเพิงหินกว้าง 3 เมตร ยาว 60 เมตร มีรูปรอยฝ่ามือสีแดงติดผนังถ้ำ ซึ่งมีลักษณะเป็นการจุ่มสีแล้วทาลงไปบนผนังหิน 2 มือ และอีก 4 มือ เป็นร่องรอยการวางมือทาบบนผนังหินแล้วใช้สีทับ เป็นร่องรอยการสื่อความหมายของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์อายุประมาณ 3,000 ปี ถ้ำฝ่ามือแดงอยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ มห.1 (ห้วยสิงห์) ทางเข้าอยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2034 ประมาณกิโลเมตรที่ 8-9 การไปชมถ้ำควรมีเจ้าหน้าที่นำทาง เพราะเป็นเส้นทางเดินป่าใช้เวลาประมาณชั่วโมงครึ่ง
ภูถ้ำพระ
มีน้ำตกถ้ำพระและเป็นแหล่งน้ำซับตลอดปี บริเวณน้ำตกจะมีเพิงหินคล้ายถ้ำ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 3 ฟุต สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515 และพระพุทธรูปไม้หลายร้อยองค์ และรูปปั้นสัตว์ต่างๆ บนลานหินมีหินรูปร่างต่างๆ ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของน้ำฝนแปลกและสวยงาม อยู่ห่างจากผาอูฐ ประมาณ 600 เมตร เป็นทางเดินลงหุบแล้วขึ้นภูที่ชันพอสมควร
การเดินทาง
รถยนต์ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ตั้งอยู่บริเวณภูผาเทิบ อยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ประมาณ 17 กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามเส้นทางสายมุกดาหาร-อำเภอดอนตาล ประมาณ 14 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง แล้วเลี้ยวซ้ายอีก 2 กิโลเมตร จะถึงอุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องสุขา มีห้องสุขาชายหญิงห้บริการ
ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
จองบ้านพักอุทยานแห่งชาติ http://www.dnp.go.th
สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว
ที่จอดรถ มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ (มุกดาหาร) ต.นาสีนวน อ. เมืองมุกดาหาร จ. มุกดาหาร 49000
โทรศัพท์ 0 4260 1753 หรือ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ททท.สำนักงานจังหวัดนครพนม โทร 042-513-490 เปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น. หรือที่เว็บไซต์กลุ่มจังหวัดสนุก www.tatsanuk.com
แหล่งที่มา: http://www.travel2mukdahan.com/2012/09/gradually-rocky-mountain-national-park.html
หอแก้วมุกดาหาร
หอแก้วมุกดาหาร
หอแก้วมุกดาหาร
หอแก้วมุกดาหาร
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก culture.go.th, สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
เป็นอีกหนึ่ง สถานที่ท่องเที่ยว ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของจังหวัดมุกดาหาร จึงทำให้เสน่ห์ของ หอแก้วมุกดาหาร ไม่เคยจางหายจากใจผู้มาเยือน ด้วยเพราะเอกลักษณ์อันทันสมัยของ หอแก้วมุกดาหาร ที่มีลักษณะเป็นหอคอยสูง ยอดด้านบนเป็นลูกแก้วขนาดใหญ่โดดเด่น และหากมองจากภายในซึ่งเป็นห้องโถงผนังกระจกใส จะทำให้มองเห็นภูมิทัศน์รอบเมืองมุกดาหาร และแม่น้ำโขง รวมถึงเมืองสะหวันนะเขต ฝั่งประเทศลาว ที่สวยงามมาก เรียกได้ว่า หอแก้วมุกดาหาร เป็นจุดชมวิวที่คุณหรือใคร ๆ ก็ไม่ควรพลาด หากมีโอกาสได้ไปเที่ยวที่ จ.มุกดาหาร
หอแก้วมุกดาหาร มีชื่อเต็มว่า "หอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก" ตั้งอยู่ ริมถนนสายมุกดาหาร - ดอนตาล ห่างจากตัวเมืองมุกดาหาร ไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในมหามงคลวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี บนพื้นที่ประมาณ 3 ไร่เศษ ซึ่งได้มาจากการบริจาคของ นายธีระชัย ฐานิตสรณ์ บุตรชายของนายย่ำเซ็ง แซ่ลิ้ม คหบดีแห่งเมืองมุกดาหาร
ทั้งนี้ หอแก้วมุกดาหาร ได้มีการทำพิธีวางศิลาฤกษ์พร้อมกับพิธีเททองหล่อพระพุทธนวมิ่งมงคลมุกดาหาร พระพุทธรูปประจำหอคอย เมื่อ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ใช้เวลาก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ 1 ปี และเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการตั้งแต่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2539 เป็นต้นมา โดย หอแก้วมุกดาหาร เป็นหอคอยคอนกรีตที่มีความสูงทั้งสิ้น 65.50 เมตร หรือเทียบเท่ากับตึกสูง 22 ชั้น ภายในแบ่งพื้นที่ออกเป็น 12 ชั้น มีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้
ส่วนบนสุดของ หอแก้วมุกดาหาร หรือ ยอดโดม ลักษณะอาคารหากมองจากภายนอกจะเป็นเหมือนลูกแก้วขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เมตร สีหมอกมัวตรงกับลักษณะของแก้วมุกดาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในนพรัตน์เก้าประการในตำนานของไทย ภายในเป็นห้องโถงผนังกระจกใส พื้นที่กลางโถงประดิษฐาน "พระพุทธนวมิ่งมงคลมุกดาหาร" พระพุทธรูปเนื้อเงินแท้บริสุทธิ์ ปางมารวิชัย ที่จัดสร้างขึ้นในโอกาสเดียวกันกับการสร้าง หอแก้วมุกดาหาร และมีพระพุทธรูปประจำวันเกิดขนาดเล็กประดิษฐานไว้รอบห้องให้สักการะด้วย
พระพุทธนวมิ่งมงคลมุกดาหาร
ภาพวิวจากหอชมวิว หอแก้วมุกดาหาร
หอชมวิว จะอยู่ด้านล่างถัดจากยอดโดม เป็นพื้นที่รูปวงกลม ผนังโดยรอบเป็นกระจกใส ภายในติดเครื่องปรับอากาศ เป็นจุดชมทิวทัศน์ซึ่งอยู่สูงจากพื้น 50 เมตร มองเห็นภูมิทัศน์ได้รอบตัวเมือง ทั้งยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามมากอีกด้วย
แกนหอคอย สูง 29.6 เมตร มีบันไดทั้งสิ้น 321 ขั้น กว้างขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 เมตร จะมีช่องลิฟต์และบันไดเวียน สำหรับอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการขึ้นไปยัง หอชมวิว โดยมีชานพักเป็นช่วง ๆ
ส่วนฐาน หอแก้วมุกดาหาร มีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น ทรง 9 เหลี่ยม (ความหมายตรงกับรัชกาลที่ 9) กว้างขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เมตร ในส่วนนี้มีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคน 8 เผ่า ที่อาศัยอยู่ใน จ.มุกดาหาร ตลอดจนแสดงวิถีชีวิตของคนสองฝั่งโขง รวมทั้งเป็นสถานที่เก็บรักษาประวัติศาสตร์เมืองมุกดาหาร ซึ่งเป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน
นิทรรศการ หอแก้วมุกดาหาร
นิทรรศการ หอแก้วมุกดาหาร
และในส่วนของบริเวณโดยรอบ หอแก้วมุกดาหาร มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้ประชาชนได้ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และให้นักท่องเที่ยวได้เลือกเก็บภาพประทับใจตามมุมต่าง ๆ มากมาย โดยมีฉากหลังเป็นสวนหย่อมไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล ประเภทต่าง ๆ รวมถึง หอแก้วมุกดาหาร หอสูงเสียดฟ้าประจำเมือง
แหล่งที่มา : http://travel.kapook.com/view7154.html
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร
สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 สะพานเชื่อมระหว่างแขวงสะหวันนะเขตของ สปป.ลาว กับ จังหวัดมุกดาหารของไทย ได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549 และเปิดให้ใช้สะพานในเดือนมกราคม 2550 สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งนี้ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางไป-มาของประชาชนและการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทย กับ สปป.ลาว ส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับลาวมากยิ่งขึ้น ถือว่าสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 ช่วยสร้างความแข็งแกร่งในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายใต้โครงการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวตะวันออกและตะวันตก (East-West Economic Corridor) ระหว่างประเทศลาว ประเทศไทย และประเทศเวียดนาม ผ่านเส้นทางถนนหมายเลข 9 ซึ่งขณะนี้กำลังขยายเครือข่ายของเส้นทางถนนระหว่างประเทศสายนี้ไปถึงพม่าด้วย นับเป็นปัจจัยที่สนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอินโดจีน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของลาวให้เติบโตต่อเนื่อง รวมทั้งกระตุ้นการค้าชายแดนไทย-ลาว ทางจังหวัดมุกดาหาร-สะหวันนะเขตด้วย
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ตั้งอยู่ที่บ้านสงเปือย ตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมือง ห่างจากตัวจังหวัดมุกดาหารไปทางทิศเหนือ 7 กิโลเมตร โดยข้ามไปลงที่ บ้านนาแก เมืองคันทะบูลี ซึ่งอยู่ห่างจากตัวแขวงสะหวันนะเขตไปทางทิศเหนือประมาณ 5 กิโลเมตรมีความยาวทั้งหมด 1,600 เมตร มีความกว้าง 12 เมตร และมีช่องการจราจร 2 ช่องทาง มูลค่าการก่อสร้างประมาณ 70 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยแหล่งทุนในการก่อสร้างเป็นเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาลญี่ปุ่นให้กับรัฐบาลลาว 4,011 ล้านเยน และให้กับรัฐบาลไทย 4,079 ล้านเยน ใช้เวลาก่อสร้างตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ในระหว่างการขับรถมายังฝั่งไทย คนขับรถมาจากฝั่งลาวต้องเปลี่ยนฝั่งการขับ เนื่องจากประเทศลาวขับรถทางขวามือ ส่วนประเทศไทยขับรถทางซ้ายมือ ดังนั้นคนไทยเองจึงต้องเปลี่ยนฝั่งการขับรถไปเป็นทางขวาเมื่อเข้าประเทศลาวด้วยเช่นเดียวกัน
สะพานมิตรภาพฯ แห่งที่ 2 นี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเส้นทางขนส่ง เชื่อมโยงจากตะวันออกคือเมืองดานัง (เวียดนาม) ข้ามแม่น้ำโขงที่แขวงสะหวันนะเขต ต่อมายังมุกดาหาร และผ่านไปยังตะวันตกที่ชายแดนไทย-พม่า ที่อำเภอแม่สอด และเมืองเมียวดี และไปสิ้นสุดที่ เมืองมะละแหม่งของพม่า
ในการเดินทางข้ามสะพานฯ จะต้องใช้บริการรถโดยสารประจำทางระหว่างประเทศ โดยค่าโดยสารท่านละ 45 บาท โดยฝั่งไทยจะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมเหยียบแผ่นดิน ส่วน สปป.ลาว มีการจัดเก็บดังนี้ หนังสือเดินทาง (Passport) วันธรรมดา 20 บาท วันหยุด 40 บาท หนังสือผ่านแดน (Borderpass และ Temporary Borderpass) วันธรรมดา 50 บาท วันหยุด 100 บาท โดยมีจุดจอดรถโดยสารบริเวณเชิงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2
ศาลาพญานาค จุดชมวิวส์ใต้สะพานมิตรภาพ ไทยลาวแห่งที่ 2
รูปภาพจาก : www.facebook.com/สะพานมิตรภาพมุกดาหาร
แหล่งที่มา :http://www.travel2mukdahan.com/2012/09/thai-lao-friendship-bridge-2.html
วัดสองคอน
สักการะสถานพระมารดาแห่งมรณสักขี วัดสองคอน
วัดสองคอน มีชื่อเต็มว่า สักการะสถานพระมารดาแห่งมรณสักขีแห่งประเทศไทย วัดสองคอน หรือในชื่อเดิมว่า วัดพระแม่ไถ่ทาสแห่งสองคอน อยู่ที่ บ้านสองคอน ตำบลป่งขาม อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาธอลิก ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรสถานเทิดพระเกียรติบุญราศรีมรณสักขีทั้ง 7 ท่าน ที่ได้พลีชีพเพื่อยืนยันความเชื่อในองค์พระผู้เป็นเจ้า เมื่อครั้งเกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากในระยะนั้นผู้คนแถบชายแดนจะศรัทธาและนับถือศาสนาคริสต์กันเป็นจำนวนมาก วัดสองคอนแห่งนี้ได้ถูกคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในสถานที่ Unseen Thailand II “สัมผัสจริงเมืองไทย” ในประเภท “มุมมองใหม่สิ่งศักดิ์สิทธิ์” รวมทั้งได้ชื่อว่าเป็นโบสถ์คริสต์นิกาย โรมันคาทอลิก ที่ได้ชื่อว่าสวยและใหญ่ที่สุดใน "อุษาคเนย์" หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
โบสต์คริสต์วัดสองคอน สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานสักการะบุญราศีมรณสักขีทั้ง 7 ที่อุทิศชีวิตในป่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อ พิสูจน์ศรัทธา ที่ มีต่อพระเจ้า เมื่อครั้งเกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากในระยะนั้นผู้คน แถบชายแดนจะศรัทธาและนับถือศาสนาคริสต์กันเป็นจำนวนมาก และบาทหลวงส่วนใหญ่เป็นชาวฝรั่งเศส ทำให้ชาวบ้านเข้าใจผิด คิดว่าศาสนาคริสต์เป็นศาสนาของฝรั่งเศส จึงมีคนกล่าวหากันว่าคนที่นับถือคริสต์ช่วงนั้นจะฝักใฝ่ฝรั่งเศส ทรยศต่อประเทศชาติ รวมทั้งมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นหลายอย่าง ทางการจึงมีคำสั่งให้ชาวบ้านเลิกนับถือ ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ยอมรับว่าจะเลิก แต่ก็ยังนับถือกันแบบลับๆ โดยมีซิสเตอร์พิลา ทิพย์สุข (อายุ 31 ปี) ซิสเตอร์คำบาง ศรีคำฟอง (อายุ 23 ปี) นายศรีฟอง อ่อนพิทักษ์ (อายุ 33 ปี) นางพุดทา ว่องไว (อายุ 59 ปี) นางสาวบุดสี ว่องไว (อายุ 16 ปี) นางสาวคำไพ ว่องไว (อายุ 15 ปี) และเด็กหญิงพร ว่องไว (อายุ 14 ปี) ที่ยังทำหน้าที่เป็นครูสอนคำสอนและไม่รับปากกับทางตำรวจว่าจะเลิกตำรวจจึงนำตัวทั้งหมดไปยิง จนเสียชีวิต
ในปี พ.ศ. 2532 พระสันตะปาปาก็ได้ประกาศให้ท่านทั้งเจ็ดคนเป็น "บุญราศีมรณสักขี" ซึ่ง หมายถึงคริสตชนผู้ที่ประกอบกรรมดี และพลีชีพเพื่อ ประกาศยืนยันความเชื่อในพระเจ้าไม่ยอมละทิ้งศาสนา ปัจจุบันมีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรือมิสซาบูชาใน วันธรรมดา เวลา 06.00 น.และในวันอาทิตย์ เวลา 07.00 น. และในทุกๆปีที่วัดสองคอนจะมีพิธีเฉลิมฉลองรำลึก การสถาปนา แต่งตั้งบุญราศี ณ กรุงโรม วันที่ 22 ต.ค. และพิธีรำลึกบุญราศีสองคอน 16 ต.ค. ปัจจุบันวัดสองคอนกำลังเป็นแหล่งศาสนาคริสต์ที่ ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และยังมีชื่อเสียงในเรื่องความงดงามแปลกตาของตัวอาคาร คือ เป็นโบสถ์คริสต์สร้างแบบสถาปัตยกรรม สมัยใหม่ที่ใหญ่และสวยที่สุดในอุษาคเนย์ เคยได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2539 โบสถ์แห่งนี้ได้ออกแบบโดย ดร.อัชชพล ดุสิตนานนท์เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโถงสี่เหลี่ยมชั้นเดียว ผนังของวัดและส่วนไว้พระธาตุเป็นกระจกใส บริเวณด้านหน้าเป็นส่วนประกอบพิธี มีพื้นที่กว้างขวาง ส่วนด้านหลังเป็นที่เก็บอัฐิของบุญราศีทั้ง 7 ภายในมีโลงแก้วบรรจุหุ่นขี้ผึ้งของบุญราศีทั้ง 7 ไว้ให้สักการะบูชา มีไม้กางเขน 7 แห่งด้านหน้าแทนบุญราศีทั้ง 7
ลักษณะอาคาร กว้าง 21 เมตร ยาว 33.60 เมตร
พื้นที่ส่วนไว้พระธาตุ กว้าง 21.00 เมตร ยาว 8.40 เมตร
โครงหลังคามุงด้วยโลหะ กว้าง 50.40 เมตร ยาว 50.40 เมตร
เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก บุด้ายศิลาทราย ด้านละ 7 ตัน ยาว 1.50 เมตร กว้าง 1.50 เมตร
ลักษณะเด่น ของโบสถ์ได้แสดงถึงความขัดแย้ง เช่น วัสดุก่อสร้างที่ใช้มีทั้งกระจกเรียบและหินทรายหยาบ ต้นไม้ด้านในกำแพงจะมี การจัดแต่ง วางเป็นระเบียบ แต่ต้นไม้ภายนอกกำแพงจะไม่มีการจัดเรียง มีการใช้แสงเงาและรูปทรงเรขาคณิตที่เรียบง่าย ตรงไป ตรงมา จริงจัง แข็งๆ สื่อถึงความเป็นนักรบ สำหรับกำแพงโบสถ์สร้างโอบล้อมโบสถ์เป็นครึ่งวงกลม มีผนังโค้งประดับภาพนูนต่ำ เล่าเรื่องราวประวัติบุญราศีแห่งวัดสองคอน ส่วนด้านหลังเปิดโล่งเป็นสนามเพื่อเอาไว้ชมทิวทัศน์อันสวยงามของแม่น้ำโขง และใน บริเวณยังมีบ้านไม้ใต้ถุนสูงเล็กๆ ซึ่งเป็นบ้านพักของซิสเตอร์ที่เสียชีวิตจากครั้งนั้น โดยโบสถ์หลังนี้ได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2538
คำขวัญหมู่บ้านสองคอน
ถิ่นแสวงบุญแดนสยาม เลื่องลือนามบุญราศี
นามสกุลดี "ว่องไว" ปลาใหญ่แม่น้ำโขง
กำแพงโค้งสักการสถาน แลตระการสถาปัตยกรรม
คุณค่าล้ำเรือนอนุรักษ์ ศักดิ์สิทธิ์บ่อน้ำมาร์ตีร์
การเดินทาง
จากตัวเมืองมุกดาหารมาตามทางหลวงหมายเลข 212 (หนองคาย-อุบลฯ) ไปทางจังหวัดนครพนมประมาณ 21 กิโลเมตร แยกขวาที่สามแยกบ้านคำป่าหลาย (เข้าสู่ถนนทางหลวงชนบท มห.3010 บ.คำป่าหลาย-หว้านใหญ่) ประมาณ 7.5 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายที่สี่แยกหว้านใหญ่ (เข้าสู่ถนนทางหลวงชนบท มห.4004 หว้านใหญ่-สองคอน) ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ตัวโบสถ์วัดสองคอนจะอยู่ริมน้ำฝั่งขวามือ
ข้อมูลการติดต่อ
สำนักงาน ททท. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 5 หมายเลขโทรศัพท์ 0 4232 5406 และ ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว (Call Center) 1147 หรือที่ วัดสองคอน โทรศัพท์ 0 4269 9066, 0 4269 9077
ข้อแนะนำ
สักการสถานพระมารดาแห่งมรณะสักขี เปิดให้นักท่องเที่ยวทั่วไปเข้าชมและสักการะได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 09.00-12.00 นาฬิกา และเวลา 13.00- 17.00 นาฬิกา
แหล่งข้อมูล/ข้อมูลเพิ่มเติม
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
hellomukdahan
ชุมชนคริสตชนวัดสองคอน : www.songkhon.org
แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
หาดชะโนด
หาดมโนภิรมย์
แก่งกะเบา
หาดแห่
แหล่งที่มา : http://www.travel2mukdahan.com/2012/09/worship-place-song-korn-temple.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)